การตั้งค่าความปลอดภัยให้กับโปรไฟล์ของเราเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญแต่หลายๆคนนั้นมองข้าม หลายคนไม่เคยสนใจด้วยซ้ำไป เพราะเห็นว่าคงไม่ได้มีอะไรสำคัญมากนัก แต่การมองข้ามเรื่องเล็กๆ นั่นก็ก่อให้เกิดปัญหาหลายๆอย่างตามมา ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนบางคนที่เล่นเฟสบุ๊คแล้วไม่ได้ปิดกั้นการโพสที่หน้าวอล์ของเรา ก็อาจจะโดนสแปม โดนแท็กโฆษณา ให้รำคาญหูรำคาญตา ต้องมานั่งลบให้เสียเวลากันภายหลัง เป็นต้น
จากรูปตัวอย่างจะเป็นหน้าตัวอย่างที่ใช้ตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆ ของโปรไฟล์เฟสบุ๊คเรา
ส่วนแรก คือ “คำถามกรณีที่เราลืมรหัสผ่าน” ตรงนี้คือให้เราตั้งค่าโดยใส่คำถามและคำตอบส่วนตัวของเรา ซึ่งมันช่วยให้เราสามารถสามารถเข้าใช้งานเฟสได้ด้วยการป้อนคำถามและคำตอบนั่นเอง การตั้งค่าส่วนนี้ให้ระมัดระวังนิดนึงเพราะแฮคดกอร์เองอาจจะเดาคำถามและคำตอบของเราได้ พยายามตั้งคำถามะคำตอบที่เป็นส่วนตัวเราจริงๆ ซึ่งทำให้คาดเดายาก
ต่อมาคือ “เรียกดูแบบปลอดภัย” การตั้งค่าแบบนี้จะทำให้บัญชีเราเรียกใช้งานเฟสบุ๊คแบบ https:// ซึ่งจะดีกว่าแบบ https:// ธรรมดา ถ้าอธิบายแบบชาวบ้านๆให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือมันจะช่วยเข้ารหัสไม่ให้แฮคเกอร์มาดักเอาข้อมูลเราระหว่างทางได้นั่นเอง ถึงแม้จะแลกมาด้วยการเข้าใช้งานที่ช้ากว่านิดหน่อย แต่ก็ปลอดภัยกว่านั่นเอง
ส่วนต่อมาคือ “การแจ้งเตือนการเข้าสู่ระบบ” การแจ้งเตือนส่วนนี้หมายถึง เมื่อมีการเข้าใช้งานเฟสบุ๊คของเรา เฟสบุคจะส่งอีเมลมาหาเราทันทีว่ามีการเข้าใช้งานจากที่ไหน ซึ่งจะทำให้เรารู้ได้ว่ามีใครแอบเล่นของเราหรือป่าวนั่นเอง แอดมินเองก็ใช้งานส่วนนี้อยู่เหมือนกัน
“การอนุมัติการเข้าสู่ระบบ” ตรงนี้ค่อนข้างจะปลอดภัยมากๆ เพราะเฟสบุ๊คจะส่ง OTP หรือหรัสแบบ one time password หรือพาสเวิดที่ใช้ได้ครั้งเดียว เข้ามาที่หมายเลขมือถือของเรา ทุกครั้งที่เข้าสู่ระบบจากที่อื่น เรียกได้ว่าเป็นการป้องกันสองชั้น ชั้นแรกคือรหัสผ่านของเรา และชั้นที่สองต้องกรอกรหัส OTP อีก แต่วิธีนี้ก็อาจจะแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งอยู่เหมือนกัน แอดมินก็จำไม่ได้ว่าเท่าไหร่
“รหัสผ่านแอพฯ” ตรงงนี้ก็จะเป็นการสร้างรหัสความปลอดภัยสำหรับแอพฯพลิเคชันนั่นเองครับ
“อุปกรณ์ที่รู้จัก” ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง เฟสบุ๊คจะจดจำอุปกรณ์ที่เราเคยเข้าใช้งาน ทั้งนี้ การใช้งานอุปกรณ์นั้นครั้งแรก เราก็ต้องทำการบันทึกชื่ออุปกรณ์นั้นด้วย เช่น เข้าจากห้องสมุด เข้าจากร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น
และสุดท้าย เซสชันที่ใช้งานอยู่ จะหมายถึงการล็อกอินที่ค้างอยู่ เป็นการแสดงตำแหน่งคร่าวๆของเซสชันที่เราล็อกอินค้างไว้ ว่าอยู่ที่ไหนบ้าง