จากข่าวใน Blognone ที่พูดถึง สถิติความทนฮาร์ดดิสก์ปี 2014 ข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยโดย Backblaze บริษัทสำรองข้อมูลออนไลน์ที่สั่งซื้อฮาร์ดดิสก์จากผู้ผลิตหลายเจ้าเป็นจำนวนมาก และได้เก็บสถิติเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวไว้ ด้วยจำนวนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกทดสอบ ค่อนข้างเยอะ ข้อมูลจึงมีความน่าเชื่อถือ โดยมีฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดเกือบ 40,000 ตัว ผลคือฮาร์ดดิสก์ของ HGST ยังนำมาเป็นอันดับหนึ่งในแง่ความทนทาน ตามด้วย Western Digital และ Seagate รั้งท้าย (อ้างอิงจากข่าว)
HGST คือใคร ?
ต้องย้อนกลับไปอ่านข่าวเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Western Digital เข้าซื้อกิจการ Hitachi GST (ย่อมาจาก Hitachi Global Storage Technologies) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Hitachi ที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ (ซึ่งเคยเป็นฝ่ายฮาร์ดดิสก์ของ IBM มาอีกทีหนึ่ง) ครั้นจะเปลี่ยนชื่อจาก Hitachi GST ไปเป็น Western Digetal เลย ยังทำไม่ได้ เพราะติดเรื่องสัญญาและอะไรหลายๆอย่าง ทั้งยังต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานเป็นจำนวนมาก สิ่งที่ HGST ทำคือ ใช้ชื่อ เปลี่ยนจาก Hitachi GST เป็น HGST และพ่วงท้ายด้วย a Western Digital Company
HGST ฐานผลิตอยู่ที่ไหน?
ฐานการผลิตหลักๆของ HGST ตอนนี้มีอยู่ 2 ที่ คือที่บ้านเรา และประเทศจีน ของบ้านเราเมื่อก่อนมีอยู่ 2 สายการผลิต คือที่ชลบุรีที่นึง แล้วก็ที่นิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรีอีกที่นึง เมื่อสองปีก่อนยกเลิกการผลิตที่ชลบุรี ที่บ้านเราจึงเหลือใหญ่ๆที่ปราจีนบุรี
สายการผลิตที่ประเทศจีน เน้นผลิตฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วเป็นหลัก ส่วนบ้านเราก็เน้น 3.5 นิ้วเป็นหลัก
ถ้านับเอาเฉพาะ 3.5 นิ้ว เมื่อเดือนมกราคม 2558 ที่ผ่านมา Volumn ราวๆ 1.5 ล้านตัว (ตกวันละ 5 หมื่นตัว) และแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะด้วย Performance ที่ลูกค้าเริ่มเชื่อมมั่น และหันมาสั่ง HDD ของ HGST มากขึ้น
อยากซื้อ HDD ของ HGST
สำหรับเหล่าสาวกที่อยากจะได้ HDD เทพๆมาครอง บ้านเราต้องใจเย็นๆก่อนนะครับ ถึงแม้จะผลิตในบ้านเรา แต่ว่าตัวงานนั้นส่งออก 100% เพราะฉะนั้น เราจึงยังไม่เห็น HDD ของ HGST วางขายในบ้านเรา แต่ผมเชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะใช้งาน HDD ของ HGST อยู่แล้วโดยไม่รู้ตัวครับ เพราะลูกค้าที่สั่งไดว์ไป หลายบริษัทที่เรารู้จักกันดี เช่น Apple , Google , Amezon ,HP เป็นต้น
ทำไม HDD ของ HGST จึงมี Failure rate น้อยกว่าเจ้าอื่น?
HDD ทุกตัว จะต้องได้รับการทดสอบอย่างละเอียด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่โหดเหี้ยๆ เพื่อให้เหมาะกับฟังก์ชันที่จะเอาไปใช้งาน ผมขอยกตัวอย่างแค่บางตัวอย่างครับ เช่น ทดสอบการอ่าน/เขียนข้อมูล แบบ Full serface ที่อุณหภูมิ 52 – 67 องศาเซลเซียส ความโหด ไม่ใช่แค่อุณหภูมิสูงเท่านั้น เพราะด้วย Full scan ต้องใช้เวลาหลายวัน! จึงจะเสร็จ ยิ่งความจุสูงๆ ยิ่งใช้เวลานาน บางรุ่นใช้เวลาทดสอบอยู่เป็นเดือน! ส่วนรุ่นที่เป็น Automotive ซึ่งเป็น HDD รุ่นเล็กที่มักเอาไปใช้กับรถยนต์ ต้องมีการทดสอบดังกล่าวในห้องแช่แข็ง ซึ่งมีอุณหภูมิติดลบมากกว่า -10 องศาเซลเซียส ! และยังมีอีกหลายๆการทดสอบที่ผมไม่ได้พูดถึง
สำหรับงานที่ทดสอบไม่ผ่าน Engineer จะต้องนำมาวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมมันถึงทดสอบไม่ผ่าน และหาวิธีแก้ไข พัฒนาจุกบกพร่องที่เกิดขึ้น ก่อนที่ HDD จะไปถึงมือลูกค้า นี่ก็เลยกลายจุดจุดแข็งที่ทำให้ HDD ที่ผลิตโดย HGST ชนะเจ้าอื่น จากรายงานที่ Backblaze เผยแพร่ข้อมูลออกมา
และสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ผลงานที่ออกมานั้น มีคนไทยเราร่วมพัฒนาอยู่ด้วย และ HDD ที่ผลิต ก็อยู่ที่บ้านเราครับ
[บทความที่เกี่ยวข้อง] What is the Best Hard Drive?
[บทความที่เกี่ยวข้อง] Western Digital เข้าซื้อกิจการ Hitachi Global Storage Technologies
[บทความที่เกี่ยวข้อง] Backblaze เผยสถิติความทนฮาร์ดดิสก์ปี 2014 – Seagate 3TB พังง่ายที่สุด
[บทความที่เกี่ยวข้อง] Backblaze รายงานความทนฮาร์ดดิสก์ ฮิตาชิได้อันดับหนึ่ง