เพื่อนๆหลายคนคงคุ้นหูคุ้นตากันและเคยได้ยินมาบ้างแล้ว เกี่ยวกับเทคโนโลยี Could Storage (คลาวด์ สตอเรจ) มีผู้ให้บริการหลายเจ้า อาทิ Drop Box , Google Drive ล่าสุดบริการคลาวด์สตอเรจของไมโครซอฟต์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น One Drive ที่คอไอทีหลายๆท่านคงจะได้ยินข่าวกันเมื่อไม่นานมานี้ นั่นก็เป็นตัวอย่างของคลาวด์สตอเรจที่ยกตัวอย่างให้เห็นว่ามันคืออะไร
สำหรับบทความนี้จริงๆเราจะมาพูดถึง Cold Storage (คูลด์ สตอเรจ) อาจจะฟังคล้ายๆกัน แต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกันซะทีเดียว ล่าสุดเฟซบุ๊กมีโครงการพัฒนาต้นแบบของ Cold Storage เอาไว้เก็บข้อมูลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยใช้เผ่นบลูเรย์ ข้อมูลล่าสุด เฟซบุ๊กสามารถเก็บข้อมูลสูงสุด 1 เพตะไบต์บนแผ่นบลูเรย์ 10,000 แผ่น และคาดว่าในอนาคตจะสามารถเพิ่มความจุได้เป็น 5 เพตะไบต์
คอนเซปต์ของคูลด์สตอเรจ คือ ข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือแทบจะไม่ได้ใช้เลย อย่างโครงการคูลด์สตอเรจของเฟซบุ๊ก พัฒนาขึ้นเพื่อ เอาไว้เเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานที่ซ้ำซ้อนกันซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานอีก เป็นต้น
ปัจจุบันการเก็บข้อมูลแบบคูลด์สตอเรจอีกแบบหนึ่งที่ยังมีการใช้งานอยู่คือการเก็บลงเทป บางครั้งเรายังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานข้อมูลนั้นอยู่ แต่ไม่ได้บ่อยนัก เดือนหนึ่งต้องการใช้ข้อมูลนั้นทีนึง หรือปีนึงค่อยอยากใช้ข้อมูลนั้นขึ้นมา เป็นต้น แต่เทป หรือบลูเรย์นั้น มีข้อดีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือถ้ามีการเรียกใช้ข้อมูล กว่าจะได้ใช้ข้อมูลนั้นต้องใช้เวลานานมาก ต้องกรอเทปหา บางทีก็ใช้เวลานานหลายชั่วโมง หลายวัน กว่าจะได้ข้อมูลนั้นมา ถ้านำมาใช้ในปัจจุบัน คงไม่ทันกินแน่ๆ แต่ข้อดีของมันคือประหยัด เมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลที่เก็บได้ ประหยัดทั้งต้นทุนที่เป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บ พื้นที่เก็บข้อมูล และไฟฟ้าในการทำงาน
เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกินไฟเยอะกว่า จะไม่คุ้ม เพราะค่าใช้จ่ายยังแพงอยู่มาก แต่ว่าก็ได้มีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ต้นทุนต่ำ หน่วยความจำสูง หรือที่เรียกว่าแบบ Low cost มาเพื่อสนับสนุนงานนี้โดยเฉพาะ คือตอบสนองทั้งในเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ในโหมดจำศีล เมื่อไม่มีการใช้ข้อมูล อยู่นิ่งๆไม่กินไฟ และสามารถเก็บข้อมูลในปริมาณที่มากขึ้น เช่นในการเก็บข้อมูลเก่าๆของสมาชิกในเฟซบุ๊ก เพื่อนๆลองสังเกตุเวลาที่เราเลื่อกไทม์ไลน์กลับไปดูโพสต์เก่าๆ จะพบว่าต้องใช้เวลาโหลดนานมากกว่าแบบปกติ ก็เพราะว่าเฟซบุ๊กเริ่มมีการพัฒนาและใช้งานการเก็บข้อมูลแบบคูลด์สตาเรจโดยใช้ฮาร์ดดิสก์นั่นเอง
จากแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ปีหน้าก็จะเริ่มมีการวางขายฮาร์ดดิสก์ต้นทุนต่ำ มีหน่วยความจำมากถึง 10TB (ปัจจุบัน สูงสุดที่ 6TB)