1.Peer Production แนวคิดของโมเดลธุรกิจแบบ Peer Production อาศัยความสมัครใจของบุคคลทั่วไปช่วยกันสร้างผลงาน ทำให้เกิดผลงานใหม่ๆขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
ลักษณะเด่นของแนวคิดแบบ Peer Production คือเกิดจากความสมัครใจช่วยกันสร้างผลงาน งานมีความหลากหลาย สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆได้ ,ผลงานไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยตรง และทุกๆคนได้ประโยชน์จากผลงาน หากใครต้องการนำไปพัฒนาต่อยอดก็สามารถทำได้ ทำให้มีการพัฒนา ตลอดเวลา ตัวอย่างะรกิจ เช่น Open Source Software อาทิ Linux , Apache and MySQL , PHP/Perl ,Wikipedia เป็นต้น
2. Ideagoras (Marketplaces for Ideas) เป็นแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากคนเก่งๆทั่วโลก โดยการนำความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์กับธุจกิจของตนแลกกับการจ่ายค่าตอบแทน เหมือนเป็นตลาดซื้อขาย แต่ไม่ได้ซื้อขายสินค้า แต่จะซื้อและขาย Innovation แทน (ebay for Innovation) ลักษณะเด่นของแนวคิดแบบนี้ คือ ไม่จำกัดการใช้ความรู้เฉพาะองค์กรณ์ สามารถหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในโลกได้ ง่ายๆคือเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญา บางที่มีการตั้งบริษัทเป็นหน่วยงานสำหรับทำการวิจัย และขายความรู้จากงานวิจัยโดยเฉพาะ และในมุมมองของผู้ใช้ความรู้ สามารถลดต้นทุนและเร่งความเร็วของการทำวิจัยและพัฒนาความรู้ในองค์กรณ์ของตนเองได้
ตัวอย่างธุจกิจ เช่น InnoCentive (Workable Solution Marketplace) , Yet2.Com (IP Marketplace) , โครงการ C&D (Connect and Develop) ของ P&G
3.The Prosumer โมเดลที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการรังสรรค์สินค้าและบริการของผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น Second Life , Legi & Mindstorms , BMW’s Virtual Innovation Agency , Slasdot & Digg.com เป็นต้น ผู้บริโภคมีลักษณะเป็น B2C Prosumer คือต้องการมีส่วนร่วมในการรังสรรค์สินค้า
4. The New Alexandrians แนวคิดในการแชร์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาศาสตร์วิชาความรู้ในแขนงต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วขึ้น เป็นการยกระดับความรู้ของทั้งสังคมขึ้น พร้อมๆกับสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับทุกคน ลักษณะเด่นของแนวคิดนี้ จะเน้นความรู้ต่างๆในองค์กรณ์หรือในสาขาวิชาความรู้ที่ตนเองเชี่ยวชาญมาแบ่งปันกับคนอื่นๆ มักไม่ใช่ความรู้หลักๆแต่มักจะเป็นความรู้เฉพาะทาง ที่เกิดจากประสบการณ์เฉพาะ ตัวอย่างธุรกิจเช่น MIT’s OpenCouseWare , Harvard , Oxford & Standford’s Dugutal Library Project. , Intel,s Open University Project , Human Genome Project & GenBank , SNP Consortium
5. Platforms for Participation เป็นแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของผู้คนในอินเทอร์เน็ตรังสรรค์งานที่ทุกคนสามารถใช้ได้ มาร่วมกัน และทำประโยชน์จากความร่วมมือนั้นทางอ้อม ลักษณะเด่นของโมเดลนี้คือ อยู่บนรากฐานความเอื้อเฟื้อของ Net Citizen ในการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน อาจจะมีค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆจากการร่วมมือนั้น เช่น Mashup Website , ChespGas , PeopleFinder Project , Skype
6. The Global Plant Floor แนวคิดนี้เป็นการใช้โลกเป็นฐานการผลิตโดยแบ่งงานออกเป็นส่วนต่างๆ แจกจ่ายและประสานงานกับผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตส่วนประกอบต่างๆอย่างเป็นเครือข่าย ลักษณะเด่นคือ มีโครงสร้างการผลิตสินค้าหรือบริการแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วแยกกันผลิตตามความถนัด มีการแชร์ความเสี่ยงแบะต้นทุนร่วมกันระหว่างพันธมิตร มีการประสานงานกันอย่างแนบแน่น ต่อเนื่องไร้พรมแดนตั้งแต่ต้นจนจบ เช่นบริษัทผลิตรถยนต์ ซื้อชิ้นส่วนรถยนต์จากบริษัทต่างๆ ที่ผลิตแต่ละส่วนตามความถนัด มาประกอบรถยนต์ขาย ตัวอย่างธุรกิจอื่นๆเช่น Boeing “A Lego Block Airplane” , BMW’s Fabless Car , Chinese Modular Motorcycle Industry
7. The Wiki Workplace แนวคิดการสร้างระบบของการทำงานหนึ่งๆ ร่วมกันโดยไม่แบ่งลำดับขั้นของผู้ร่วมงาน เน้นการ Collective Intelligence ในการสื่อสารแบ่งงานและตัดสินใจ ลักษณะเด่นของแนวคิดนี้ คือมีการใช้ Cooperative Tools เช่น Wikis และ Instant Messaging อย่างแพร่หลายในองค์กร และยังเป็นการดึงเอาพลังของพนักงานในองค์กรออกมาใช้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างธุจกิจ เช่น Geek Squad , Best-Buy Bottom-UP Innovation , Google,s Employee Own Project Initative